เครื่องช่วยฟัง

” เครื่องช่วยฟัง (Hearing aid) คือ เครื่องขยายเสียงขนาดเล็ก ” บุคคลทั่วไปหรือผู้สูงอายุที่มีปัญหาได้ยินหรือการรับรู้เสียงลดลง หูตึง หูหนวก ที่ส่วนใหญ่มักเกิดจากประสาทหูเสื่อมตามวัย ความผิดปกติแต่กำเนิด การได้ยินเสียงดังมากกว่าปกติเป็นเวลานานอุปกรณ์นี้สามารถช่วยให้คุณได้กลับมาได้ยินเหมือนเดิมอีกครั้ง

เครื่องช่วยฟัง

ภายในเครื่องจะมีไมโครโฟนขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เก็บเสียง โดยชิปเครื่องขยายเสียงจะปรับและแปลงเสียงให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละคนผ่านซอฟแวร์เฉพาะ ก่อนจะส่งคลื่นเสียงเข้าไปในหูโดยผ่านเครื่องขยายเสียง เพื่อให้ผู้ที่ใช้งานสามารถรับฟังเสียงได้ดีขึ้น พร้อมทั้งช่วยลดเสียงรบกวนในหู ทำให้หูได้ทำตามหน้าที่สำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินเป็นเวลานาน ทั้งยังช่วยให้สามารถสื่อสารด้วยการฟัง พูด และใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นเดียวกับคนปกติ

ส่วนประกอบภายใน ประกอบด้วยอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆ เช่น ไมโครโฟน ลำโพง และเครื่องขยายเสียง ปัจจุบันมีหลายรูปแบบ และมีการพัฒนาคุณภาพ ให้ดีมากขึ้น วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุด ก็เพื่อให้ผู้มีปัญหาการได้ยินสามารถใช้การได้ยินที่เหลืออยู่ ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด มีเสียงรบกวนน้อยที่สุดซึ่งจะส่งผลให้การฟังเข้าใจคำพูดดีขึ้น มีความเพี้ยนของเสียงที่ได้ยินน้อยลง

ประเภท - เครื่องช่วยฟัง

เครื่องช่วยฟัง

” เครื่องแต่ละชนิดจะทำงานต่างกันไปขึ้นอยู่เทคโนโลยีที่ติดตั้งภายในอุปกรณ์ “

เครื่องช่วยฟังแบบอะนาล็อกทำงานในลักษณะเดียวกับไมโครโฟนที่เชื่อมต่อกับลำโพง ” เครื่องจะรับเสียงภายนอกมาขยายเสียงและส่งเสียงเดียวกันในระดับเสียงที่ดังกว่า สามารถตั้งโปรแกรมได้หลากหลายตามสภาพแวดล้อม ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้  มีราคาถูก ใช้พลังงานจาก ถ่านเครื่องช่วยฟัง หรือ แบตเตอรี่ น้อยกว่าเครื่องแบบดิจิทัลในระดับเสียงเอาต์พุตเดียวกัน

เครื่องช่วยฟังแบบดิจิตอลเหมือนคอมพิวเตอร์ ” ที่จะส่งเสียงผ่านชิปคอมพิวเตอร์ (Digital Signal Processor ) ขนาดเล็กที่สามารถอ่านคลื่นเสียงและนำมาประมวลผลเพื่อขยายเสียงได้อย่างเหมาะสม ตั้งโปรแกรมพิเศษเพื่อขยายความถี่บางช่วงได้ รับเสียงจากทิศทางที่เฉพาะเจาะจง สามารถตรวจสอบสภาพแวดล้อมเสียงของผู้ใช้ เพื่อกำหนดคุณภาพเสียงที่ดีที่สุดให้โดยอัตโนมัติ

ในปัจจุบันผู้ที่มีปัญหาการได้ยินสามารถเลือกใช้หลากหลายชนิด โดยขึ้นอยู่กับความต้องการ ราคา และ ขนาดของอุปกรณ์

เครื่องช่วยฟัง
เครื่องแบบเกาะหลังใบหู มี 3 แบบ คือ Behind-The-Ear (BTE), mini Behind-The-Ear (mini), Receiver-In-Canal (RIC) ตัวเครื่องมีขนาดเล็กและโค้งเรียวเกาะอยู่หลังใบหู ไม่เกะกะรุงรังเพราะไม่มีสายไฟ ไมโครโฟนอยู่ที่หูจึงทำให้การฟังเสียงเป็นธรรมชาติ ใช้ได้กับผู้ที่สูญเสียการได้ยินเพียงเล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรง แต่ตัวเครื่องและปุ่มมีขนาดเล็ก ทำให้ต้องคลำหาปุ่มเพื่อปรับระดับเสียง ราคาสูง

เครื่องแบบใส่ในรูหู มี 4 แบบ คือ In The Ear (ITE), In The Canal (ITC), Completely In the Canal (CIC), Invisble In the Canal (IIC) มีไมโครโฟนอยู่ในรูหู จึงทำให้การฟังเสียงเป็นธรรมชาติมากขึ้นและเห็นความบกพร่องทางการได้ยินน้อยลง แต่เนื่องจากเป็นเครื่องที่มีขนาดเล็ก จึงทำให้ปรับระดับเสียงยาก ใช้ได้เฉพาะผู้ที่สูญเสียการได้ยินไม่มากหรือน้อยกว่า 70 เดซิเบล และมีราคาสูงเพราะต้องสั่งทำเฉพาะบุคคล

เครื่องแบบพกพา มีเครื่องขนาดใหญ่ ใช้เหน็บที่กระเป๋ากางเกงโดยมีสายต่อจากเครื่องเข้าหูฟัง ใช้งานง่าย ราคาถูก เหมาะสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่สูญเสียการได้ยินอย่างรุนแรง แต่มีสายรุงรัง การฟังเสียงไม่เป็นธรรมชาติเพราะไมโครโฟนติดอยู่บริเวณหน้าอก และอาจเสียดสีกับเสื้อผ้าได้

เครื่องแบบรับเสียงข้ามหู เหมาะสำหรับผู้ที่หูหนวกข้างเดียวและอีกข้างได้ยินเสียงตามปกติ โดยติดไมโครโฟนไว้ในหูข้างที่หนวกเพื่อดักเสียง และส่งต่อไปยังหูข้างที่ปกติ ทำให้หูข้างที่มีปัญหาได้ยินเสียงผ่านไมโครโฟนในขณะที่หูอีกข้างได้ยินเสียงตามปกติ

เครื่องช่วยฟังเหมาะกับใคร ?

ผู้ที่สูญเสียการได้ยินและไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาหรือการผ่าตัด รวมถึงผู้ที่สูญเสียการได้ยินจากโรคหูแต่มีข้อห้ามในการผ่าตัด เช่น เป็นโรคหัวใจ หรือผู้ที่หูหนวกเพียงข้างเดียวแต่อีกข้างยังคงได้ยินเสียงตามปกติ ผู้ที่สูญเสียการได้ยินที่ส่งผลต่อการสื่อความหมายและการเข้าใจความหมาย เด็กที่สูญเสียการได้ยินที่จะส่งผลต่อพัฒนาการทางภาษา การพูด และการสื่อสาร

การดูแลรักษาเครื่องช่วยฟัง

เพื่อการทำงานที่เต็มประสิทธิภาพ อาจต้องดูแลรักษาเป็นพิเศษ ดังนี้

1.สังเกตการทำงานเบื้องต้น ด้านประสิทธิภาพในการส่งเสียงที่ดังชัดเจน อุปกรณ์ไม่เสียดสีผิวหนังจนเป็นแผล อีกทั้งยังต้องตรวจสอบอายุการใช้งานของแบตเตอร์รี่ถ้าแบตเตอร์รี่ใกล้หมดจะทำให้เครื่องส่งเสียงได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ใช้จำเป็นต้องพกแบตเตอร์รี่สำรองไว้เพื่อใช้งานในกรณีฉุกเฉิน

2.ทำความสะอาดเป็นประจำ โดยใช้ผ้าที่แห้งเช็ดสิ่งสกปรกออก หรือ ไปเข้าศูนย์บริการทำความสะอาด เช่น ตัวแทนจำหน่าย โรงพยาบาล ที่ซื้อเครื่องมาไม่ควรทำความสะอาดเองด้วยวิธีแบบผิดวิธี เพราะอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ภายในได้

3.เมื่อไม่ได้ใช้งาน ให้ถอดแบตเตอรี่ออกจากตัวเครื่องทุกครั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนั่นเอง

4.ลดความชื้นภายในเครื่อง เวลาที่ไม่ได้ใช้งาน ควรจะมีกล่องมีฝาปิดสนิทและมีสารดูดความชื้นอยู่ภายในนั้นสำหรับใช้เก็บ